แผนกวิชาช่างยนต์ เริ่มเปิดทำการสอนภายใต้ชื่อว่า “โรงเรียนการช่างลำปาง” ในปีการศึกษา 2504 โดยใช้ชื่อว่า แผนกช่างเครื่องยนต์และดีเซล
สถานที่ตั้ง อยู่เลขที่ 15 ถนนท่าคราวน้อย ตำบลสบตุ๋ย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง บนเนื้อที่ 29 ไร่ 2 งาน 96 ตารางวา ได้เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2481 ใช้ชื่อว่า โรงเรียนอาชีพชาย แผนกช่างโลหะและช่างไม้ ในระยะแรกนั้นได้ยืมสถานที่ของโรงเรียนเทศบาล 4 (วัดเชียงราย) เป็นที่สอนชั่วคราว โดยโรงเรียนนี้รับนักเรียนที่สำเร็จชั้นประถมเข้าศึกษาต่อใช้เวลา 2 ปีการศึกษา จึงถือว่าสำเร็จหลักสูตร โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้ที่จบการศึกษานำความรู้และทักษะไปประกอบอาชีพ
โรงฝึกงานหลัก ขนาด กว้าง 27 เมตร ยาว 68.2 เมตร (1841.4 ตารางเมตร)ใช้จัดการเรียนการสอนทั้งระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพและระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงโดยแบ่งพื้นที่ในการจัดการเรียนการสอนออกเป็น 2 ส่วนได้แก่ พื้นที่ส่วนที่ 1 ใช้จัดการเรียนการสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ มีพื้นที่ฝึกงานขนาด กว้าง 27 เมตร ยาว 38.4 เมตร(1036.8 ตารางเมตร) ใช้ในการฝึกงาน ได้แก่ - พื้นที่ฝึกงานวิชา งานเครื่องยนต์เล็ก - พื้นที่ฝึกงานวิชา งานจักรยานยนต์ - พื้นที่ฝึกงานวิชา งานเครื่องยนต์เบื้องต้น - พื้นที่ฝึกงานวิชา งานเครื่องยนต์ - พื้นที่ใช้งานวิชา งานบำรุงรักษารถยนต์ - พื้นที่ฝึกงานวิชา งานเครื่องยนต์ดีเซล - พื้นที่ฝึกงานวิชา งานเครื่องล่างรถยนต์ - พื้นที่ฝึกงานวิชา งานส่งกำลังรถยนต์ - พื้นที่ใช้งาน มุมวิชาการแผนกและมุมอินเตอร์เน็ตนักศึกษา - พื้นที่ใช้งาน ห้องเครื่องมือกลาง - พื้นที่ใช้งาน ห้องพักครู พื้นที่ส่วนที่ 2 ใช้จัดการเรียนการสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง มีพื้นที่ฝึกงานขนาดกว้าง 27 เมตร ยาว 29.8 เมตร(804.6 ตารางเมตร) ใช้ในการฝึกงานได้แก่ - พื้นที่ฝึกงานวิชา งานเชื้อเพลิงแก๊สยานยนต์ - พื้นที่ฝึกงานวิชา งานสีรถยนต์ - พื้นที่ฝึกงานวิชา งานเกียร์อัตโนมัติ - พื้นที่ฝึกงานวิชา งานเครื่องล่างรถยนต์ - พื้นที่ใช้งานวิชา งานซ่อมเครื่องยนต์ - พื้นที่ฝึกงานวิชา งานซ่อมเครื่องยนต์ดีเซล - พื้นที่ใช้งานวิชา งานแก้ปัญหาเครื่องกล ห้องเรียนขนาด กว้าง 6 เมตร ยาว 7 เมตร ใช้จัดการเรียนการสอน ห้องทฤษฎีหัวงาน ห้องเรียนขนาดกว้าง 6.8 เมตร ยาว 10 เมตร ที่ชั้น 2 ของโรงฝึกงาน เป็นพื้นที่ฝึกงานวิชา งานส่งกำลังรถยนต์ ห้องเรียนขนาดกว้าง 3.50 เมตร ยาว 10 เมตร ที่ชั้นล่าง ของโรงฝึกงาน เป็นพื้นที่ฝึกงานวิชา งานไฟฟ้ารถยนต์ ห้องเรียนขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 10 เมตร ที่ชั้นล่าง ของโรงฝึกงาน เป็นพื้นที่ฝึกงานวิชา งานทดสอบปั้มและดีเซล ห้องเรียนขนาดกว้าง 6.8 เมตร ยาว 10 เมตร ที่ชั้นล่าง ของโรงฝึกงาน เป็นพื้นที่ฝึกงานวิชา งานไฟฟ้ายานยนต์
ห้องเรียนขนาดกว้าง 6.8 เมตร ยาว 10 เมตร ที่ชั้นล่าง ของโรงฝึกงาน เป็นพื้นที่ฝึกงานวิชา งานระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับสาขาวิชา